เสริมประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยท่านั่ง Ergonomics
Modern Office ใช้หลัก Ergonomics ช่วยปรับพฤติกรรมท่านั่งให้เหมาะสมกับการทำงาน โดยที่ไม่เสียสุขภาพ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเอื้อประโยชน์ต่องานจึงมีคุณภาพมากที่สุด

การนั่งถูกหลักยศาสตร์ หรือ Ergonomics เป็นหนึ่งท่าทางการนั่งที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากการนั่งท่าเดิมนาน ๆ หรือนั่งผิดท่า ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม, โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น ฯลฯ และเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ดังนั้นควรจัดพื้นที่ทำงานและปรับท่านั่งทำงานให้เหมาะสมกับตนเอง แล้วจะทำอย่างไร ศึกษาได้ ที่นี่
หลักการ Ergonomics พื้นฐาน
Ergonomics คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบท่าทางการทำงานและจัดพื้นที่ทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ ความสามารถ และข้อจำกัดของของร่างกาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดอาการปวดเมื่อย เมื่อยล้า รวมไปถึงป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานได้อีกด้วย โดยองค์ประกอบของยศาสตร์ จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
- การยศาสตร์ทางกายภาพ (Physical Ergonomics) การออกแบบสภาพแวดล้อมของการทำงานให้เหมาะสมกับบุคคล เพื่อลดอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บได้ เช่น ท่านั่ง ท่ายืน ที่ดีต่อร่างกาย เป็นต้น
- การยศาสตร์ทางสรีรวิทยาและจิตวิทยา (Cognitive Ergonomics) การออกแบบสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งเสริมบรรยากาศในการทำงานที่ดี ทำให้งานมีคุณภาพ เช่น จัดแสงสว่างในห้องทำงานให้มากพอ เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน สบายตา และไม่มืดทึบเกินไป จนรู้สึกไม่อยากทำงานหรือติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งาน เป็นต้น
- การยศาสตร์ทางองค์กร (Organizational Ergonomics) การสร้างข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้การทำงานในออฟฟิศเป็นไปอย่างราบรื่น เช่น การจัดตารางงานให้แต่ละบุคคลอย่างเหมาะสม เป็นต้น
จากข้อมูล จะเห็นได้ว่าการปรับพฤติกรรมตามหลักยศาสตร์ ช่วยถนอมสุขภาพร่างกาย ให้ใช้งานได้อีกนาน และที่สำคัญหลัก Ergonomics มีหลักการพื้นฐานง่าย ๆ ดังนี้
1. การจัดสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
ในส่วนของการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน ช่วยส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็น Modern Office ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมตามหลักยศาสตร์ จะต้องคำนึงถึง 5 ข้อ ต่อไปนี้
- การจัดโต๊ะทำงาน และเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสรีระ
- การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ใช้งานได้สะดวก
- การจัดแสงในที่ทำงานสว่างเพียงพอ จะช่วยให้สบายตายิ่งขึ้น
- การควบคุมสภาพอากาศ และตัดเสียงรบกวน เพิ่มสมาธิในการทำงาน
- การปรับพฤติกรรม และการเคลื่อนไหวระหว่างทำงาน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสรีรศาสตร์ (Anatomy) และการออกแบบสภาพแวดล้อม
ด้วยความที่รูปร่างของแต่ละคนแตกต่างกัน การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ในออฟฟิศให้เหมาะสมกับการใช้งาน จะต้องดูที่ขนาดร่างกายของผู้ใช้งานร่วมด้วย เพราะบางคนมีส่วนสูงมาก การนั่งเก้าอี้ที่ต่ำเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สามารถทรงตัวได้ในองศาที่เหมาะสม จึงมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายตามมานั่นเอง
3. การปรับท่านั่งให้เหมาะสมกับสรีระของแต่ละบุคคล
เมื่อทราบว่ารูปร่างของตนเองเป็นอย่างไร ในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นการปรับท่านั่งให้ทำงานได้สบาย หากปรับท่านั่งแล้ว ยังรู้สึกไม่สบายตัว สามารถจัดพื้นที่ทำงานหรือติดตั้งเฟอร์นิเจอร์เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานและร่างกายตนเองได้เช่นกัน
ท่านั่งที่ถูกต้องตามหลัก Ergonomics
สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือบุคคลที่นั่งทำงานนาน ๆ สามารถปรับท่านั่งให้ถูกหลักยศาสตร์ได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องติดตั้งเฟอร์นิเจอร์เพิ่ม ซึ่งมี 4 ข้อ ดังนี้
1. ท่านั่งทั่วไป
ให้พยายามนั่งหลังตรง, พิงพนักพิงได้ แต่เน้นสะโพกชิดเบาะ แล้วหัวเข่าจะต้องทำมุม 90 องศา ในส่วนของเท้าให้วางราบกับพื้น สำหรับการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ให้จัดตำแหน่งจอคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด และเมาส์ ให้เหมาะสม โดยยึดจากท่านั่งเป็นหลัก
2. ท่านั่งเมื่อใช้คอมพิวเตอร์
สำหรับการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จะต้องเว้นระยะห่างระหว่างตาและจออย่างน้อย 30 เซนติเมตร และระดับความสูงของจอต้องตั้งฉากกับระยะสายตามองเห็น แล้วสามารถติดตั้งเฟอร์นิเจอร์เป็นที่พักแขนหลังพิมพ์งานนาน ๆ ได้ ก็จะช่วยผ่อนคลายร่างกายได้ดีมาก ๆ
3. ท่านั่งสำหรับงานที่ต้องเคลื่อนไหว
บางงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอด ควรปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่ง การยืน การยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้เหมาะสม และควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นระยะ จะช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยได้ดีขึ้น
4. ท่านั่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ในการนั่งทำงาน Modern Office สิ่งที่เห็นได้ประจำ คือ การนั่งไขว่ห้าง, การนั่งหลังค่อม, การนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นท่าทางการนั่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย และร่างกายอ่อนล้า ปวดเมื่อยหนักได้นั้นเอง
ผลกระทบของการนั่งผิดท่าทาง
- อาการทางกายภาพ ได้แก่ ปวดหลัง, ปวดคอ, ปวดไหล่, ปวดข้อมือ, ชา
- โรคที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ออฟฟิศซินโดรม, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, นิ้วล็อค
- ผลกระทบทางจิตใจ ได้แก่ ความเครียด, อ่อนเพลีย, สมาธิสั้น
- ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ การผลิตงานลดลง, ความผิดพลาดเพิ่มขึ้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่ง
- การตระหนักถึงท่านั่งของตนเอง ให้ยึดสุขภาพที่ดีเป็นหลัก
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- การใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการปรับท่าทาง เช่น หมอนรองหลัง, ที่วางเท้า เป็นต้น
- การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและยืดเหยียด
สรุป
Modern Office การลงทุนที่ดี คือ การลงทุนกับ Ergonomics เพราะสุขภาพของพนักงานในออฟฟิศดี สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการทำงาน งานที่มอบหมายจึงมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงสุขภาพจิตก็ดีมากยิ่งขึ้น แล้วการปรับพฤติกรรมตามหลักยศาสตร์ ไม่ได้ยุ่งยาก บางอย่างสามารถติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ช่วยได้ แล้วสิ่งที่ดีต่อสุขภาพเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรควรใส่ใจมากที่สุด ในปี 2025
FAQ
1. เก้าอี้แบบไหนที่เหมาะสมกับการนั่งทำงานตามหลัก Ergonomics?
- ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ที่สามารถปรับความสูง, พนักพิง, ที่วางแขนได้ และมี Lumbar support ที่รองรับส่วนโค้งของหลังได้อย่างเหมาะสม
2. ควรนั่งทำงานนานแค่ไหนต่อวัน?
- ในการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องนั่ง ไม่ควรนั่งติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ควรลุกขึ้นพักผ่อน ยืดเส้นยืดสายทุก ๆ 20-30 นาที
3. การใช้ Laptop จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมหรือไม่?
- ควรมี Keyboard และ Mouse แยก เพื่อปรับระดับการวางมือ และควรยกหน้าจอ Laptop ให้สูงขึ้น หากวางอุปกรณ์ดังกล่าวต่ำเกินไป ทำให้ต้องก้มหน้าทำงานตลอด นอกจากปวดเมื่อยแล้ว ยังมีผลทำให้หลังค่อมได้อีกด้วย
4. อาการปวดหลังจากการนั่งทำงาน ควรทำอย่างไร?
- หลังจากนั่งทำงานมาตลอดวัน แม้จะลุกพักเป็นระยะ แต่หลังเลิกงาน ควรมีเวลาพักผ่อน, ยืดเส้นยืดสาย, ประคบเย็น/ร้อน, หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที